วันพฤหัสบดีที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2555

ข้อเสียจากการใช้งานพื้นหินอ่อน

ข้อเสียจากการใช้งานพื้นหินอ่อน

พื้นหินอ่อนเมื่อมีการถูกใช้ไปสักระยะเวลาหนึ่งแล้ว มักจะเกิดการเปลี่ยนสีขึ้น เหตุเนื่องจากสภาพการใช้งานและสภาพอากาศ แรงกระแทก รวมทั้งปัญหาอื่นๆ ด้วย
ซึ่งมีวิธีการแก้ไข  ดังนี้
- ถ้าหากพื้นหินอ่อนของบ้านคุณผิวไม่เรียบ เดินบนพื้นหินอ่อนแล้วมีการสะดุดให้ดำเนินการแก้ไขด้วยการปรับระดับหน้าหิน อ่อน แต่ถ้าเป็นมากให้ติดต่อช่างผู้ที่มีความชำนาญงานในเรื่องพื้นหินอ่อนโดย เฉพาะ จากบริษัทผู้ผลิต ผู้ขายหินอ่อน หรือร้านรับติดตั้งพื้นหินอ่อน ให้ทำการรื้อพื้นหินอ่อนออกทั้งหมดแล้วจึงทำการปรับระดับพื้นหินอ่อนใหม่
- ปัญหาพื้นหินอ่อนด้าน หมดความเงางาม และมีรอยขีดข่วนเนื่องจากการใช้งาน ให้แก้ไขด้วยวิธีการลอกหน้าหินอ่อนโดยการขัดหน้าหินอ่อนใหม่ ซึ่งในการขัดหน้าหินอ่อนใหม่นี้จะต้องใช้ความเร็วรอบที่ต่ำ เพื่อป้องกันการเกิดรอยขนแมวและรอยเป็นวง
- ถ้าพื้นหินอ่อนมีรอยแตกร้าว ให้ทำการอุดรอยแตกนั้นด้วยโพลีเอสเตอร์เรซิ่นหรือทำการเปลี่ยนแผ่นหินใหม่ก็ได้
- ปูนยาแนวหลุดร่อน แก้ไขโดยยาแนวใหม่ด้วยปูนยาแนวสีเดิม
- สีของหินอ่อนเกิดการเปลี่ยนแปลงและขุ่นมัว โดยเกิดจากฝุ่นที่ฝังอยู่ในหินอ่อนเคลือบแวกซ์ แก้ไขโดยการลอกแวกซ์ออก แล้วทำการขัดเงาและลงน้ำยาขัดเงาตามหลัง
ทั้งนี้คุณสามารถขอรับคำเสนอแนะในการใช้งานพื้นหินอ่อนได้จากแหล่งซื้อ ขายหินอ่อนที่มีอยู่ทั่วไป 




วันอาทิตย์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2555

การใช้งานสีกรดย้อมคอนกรีต


• Concrete Acid Stain •
——————————————————-
สีกรดย้อม : เป็นสีย้อมผิวคอนกรีตที่มีค่าความเป็นกรดด่างน้อยกว่า 7(pH<7) ซึ่งเมื่อทาลงพื้นผิวที่มีความเป็นด่าง (pH >7) เช่น คอนกรีตหรือผิวปูนซีเมนต์ที่แห้ง และแข็งตัวเต็มที่ หรือพื้นผิวที่มีซีเมนต์เป็นส่วนประกอบ สีกรดย้อมคอนกรีต จะแทรกซึมเข้าไปในพื้นผิวและเกิดปฏิกิริยาทางเคมีขึ้น ทำให้สีติดแน่นคงทนไม่หลุดล่อน ตราบเท่าความคงทนของพื้นผิวนั้นๆ คือ หากพื้นผิวชำรุดแตกหักเท่านั้น สีกรดย้อมก็จะหลุดตามพื้นผิวนั้นเอง

เคาท์เตอร์ทอป
• สีกรดย้อมคอนกรีตงานตกแต่ง เคาเตอร์ ครัว •
———————————————————-
   สีกรดย้อมคอนกรีตสีกรดย้อมคอนกรีตเป็นท๊อปปิ้งซีเมนต์ ซึ่งออกแบบมาเป็นพิเศษ สามารถแทรกซึมและยึดเกาะพื้น ผิวคอนกรีตได้ดีให้ความโปร่งแสงของสีที่ย้อมหรือทึบแสงได้ตามต้องการ สามารถออกแบบลวดลาย สีได้ตามต้องการกลิ่นเบา บางไม่ส่งกลิ่นรบกวนผู้ใช้ อีกทั้งยังเป็นระบบน้ำซึ่งปลอดภัยต่อผู้ใช้และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม

เคาท์เตอร์ทอป
• การใช้งานสีกรดย้อมคอนกรีต •
——————————————————-
วิธีใช้ สามารถใช้ได้โดยตรงไม่ต้องเจือจาง โดยการทาด้วยแปรงลูกกลิ้งหรือพ่น สามารถผสมสีก่อนการย้อม หรือในขณะที่ทำงานได้ สามารถเพิ่มความเข้มของสีได้ตามที่ต้องการ โดยการเพิ่มจำนวนครั้งที่ย้อม สีของพื้นผิวซีเมนต์มีผลต่อสีกรดที่ย้อมจึงควรทดลองย้อมลงพื้นที่เล็กๆก่อน การทำงานจริง สามารถใช้ได้ทั้งภายในและภายนอกความคงทนสีขึ้นอยู่คุณภาพพื้นผิวคอนกรีต พื้นที่ใช้งาน 1 ลิตรสามารถครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 25-30 ตรม. โดยประมาณ
——————————————————————–

สีกรดย้อมคอนกรีต

การทำสีกรดย้อมบนพื้นคอนกรีต

สีกรดย้อมคอนกรีต  ACID COLOR STAIN
  สี กรดย้อม เป็นเทคนิคเก่าแก่ในการทำสีบนผิวคอนกรีตโดยมีส่วนผสมของน้ำ, กรด และ เกลืออนินทรีย์ เป็นตัวเกิดปฏิกิริยากับส่วนของปูนซีเมนต์ และเมื่อนำไปทาบนผิวคอนกรีต (ปูนซิเมนต์แข็งตัว) ก็จะทำให้เกิดสีขึ้น สีที่เกิดจะติดแน่น มีความโปร่งใส การเกิดสีจะเป็นไปตามผิวคอนกรีตใหม่เก่า และปริมาณอัตราส่วนของซีเมนต์ที่ใช้
สี กรด เมื่อทาลงพื้นผิวคอนกรีตหรือผิวปูนซีเมนต์ที่แห้ง และแข็งตัวเต็มที่ หรือพื้นผิวที่มีซีเมนต์เป็นส่วนประกอบ สีจะแทรกซึมเข้าไปในพื้นผิวและเกิดปฏิกิริยาทางเคมีขึ้น ทำให้สีติดแน่น คงทนไม่หลุดล่อน ตราบเท่าความคงทนของพื้นผิวนั้นๆ

ขั้นตอนการทำสีกรดย้อมบนพื้นคอนกรีต
1.ทำความสะอาดพื้นผิวที่ต้องการย้อม และใช้ดินสอหรือชอล์กวาดแบบ กรณีที่พื้นไม่เรียบให้ปรับให้เรียบอาจใช้วิธีขัดหรือฉาบใหม่
2.ใช้เลื่อยตัด(ลูกหนู)ตัดไปตามแบบที่วาดไว้ ไม่ควรให้ล่องลึกมาก
3. ลงสีกรดย้อมบริเวณทีต้องการ ด้วยแปรง การพ่น ผ้า หรือฟองน้ำโดยลงที่ละชั้น ลงสีอ่อนก่อนลงสีเข้ม
5.เมื่อ ลงสีครบตามต้องการ ปล่อยทิ้งให้แห้งและใช้น้ำเปล่า หรือน้ำผสมด่าง เช็ดล้างผิวอีกครั้งเพื่อขจัดเกลือที่เกิดขึ้นจากปฏิกิริยาและขจัดสีที่ เหลือจากการทำปฏิกิริยา 6.ปล่อยทิ้งไว้ให้แห้งจากนั้นทาเคลือบผิวหน้าด้วยน้ำยาเคลือบใส(clear sealer)ตามต้องการ ปล่อยให้แห้ง
4) ปล่อยให้สีชั้นแรกแห้งก่อนที่จะลงสีชั้นอื่นๆ ซึ่งแต่ละชั้นต้องแห้ง ก่อนลงชั้นต่อไป

วันเสาร์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2555

วัสดุที่ใช้ทำ Counter Top, วิธีทำความสะอาด และการดุแลรักษา

วัสดุที่ใช้ทำ Counter Top, วิธีทำความสะอาด และการดุแลรักษา



1. หินแกรนิต
เป็นหินที่ได้จากหินลาวา มีความแข็งแรง ทนความร้อน มีหลายสีส่วนใหญ่จะมีเกล็ดของแร่ธาตุ
เป็นเม็ดเล็กๆกระจายอยู่ในเนื้อหิน แบ่งได้เป็นสองปะเภท คือ ประเภทที่มีสีเดียว
และประเภทที่มีลายเป็นเส้นๆหลายสี มีการดูดซึมน้ำของเนื้อหินเนื่องจากมีรูพรุนในเนื้อหิน
ดังนั้นจึงมีโอกาสเกิดเชื้อราได้

วิธีทำความสะอาดและวิธีการดูแลรักษา1. ใช้ผ้าชุบน้ำ หรือน้ำยาทำความสะอาดหิน บิดให้หมาด เช็ดถูอาทิตย์ละ 1-2 ครั้ง
2. ไม่ควรใช้ สบู่, ผงซักฟอก หรือกรดใดๆมาทำความสะอาดหิน
3. หากต้องการให้หินเงางามอยู่เสมอ ควรขัดมันหิน ประมาณ 3-4 ปีต่อครั้งโดยผู้เชี่ยวชาญ

2.หินอ่อน
เป็นหินที่เกิดจากหินปูน มีสีและลวดลายสวยงาม ดูหรูหรา สะอาดตา มีความแข็งแรง
น้อยกว่าหินแกรนิต ไม่ทนความร้อน และมีรูพรุนในเนื้อหินมากกว่าหินแกรนิตทำให้
คราบไขมัน น้ำ กลิ่นอาหาร ฝังตัวในเนื้อหินได้ง่าย

วิธีทำความสำอาดและวิธีการดูแลรักษา
1. ใช้ผ้าชุบน้ำ หรือน้ำยาทำความสะอาดหิน บิดให้หมาด เช็ดถูอาทิตยละ 1-2 ครั้ง
2. ไม่ควรใช้ สบู่, ผงซักฟอก หรือกรดใดๆมาทำความสะอาดหิน
3. หากต้องการให้หินเงางามอยู่เสมอ ควรขัดมันหิน ประมาณ 3-4 ปีต่อครั้งโดย
ผู้เชี่ยวชาญ

3. กระเบื้องเซรามิก
กระเบื้อง เซรามิกโดยทั่วไปถูกผลิตขึ้นจากการเผาดินเหนียวที่อุณหภูมิสูง แต่ปัจจุบันมีการผสมวัสดุหลากหลายประเภท เพื่อให้เกิดความแข็งแรง ทนความร้อน
และไม่ดูดซับน้ำ มีลวดลาย สีสันและผิวสัมผัสให้เลือกใช้มากมาย ทนต่อการขีดข่วน
ผิวไม่ซึมน้ำ หากมีแผ่นใดชำรุดสามารถซ่อมแซมเฉพาะจุดได้

วิธีทำความสำอาดและวิธีการดูแลรักษา
1. ใช้ผ้าชุบน้ำผสมผงซักฟอก หรือน้ำยาล้างจานเจือจาง บิดให้หมาดแล้วเช็ด
จากนั้นใช้ผ้าชุบน้ำสะอาดเช็ด แล้วเช็ดให้แห้ง
2. ไม่ควรใช้สารเคมีที่เป็นกรดมาทำความสะอาด
3. ควรขัดทำความสะอาด คราบสกปรกบริเวณปูนยาแนวอย่างสม่ำเสมอ

4. พลาสติกลามิเนต
พลาสติกลามิเนตผลิตขึ้นจากกระดาษ, เรซิน และพลาสติก มีสี ลวดลาย และผิวสัมผัส
มากมาย รวมทั้งความแข็งแรงหลายระดับ ติดตั้งโดยทากาวแล้วติดลงบนแผ่นไม้อัด
สามารถดัดโค้งได้ อาจเกิดรอยขีดข่วนจากของมีคมได้ง่าย

วิธีทำความสำอาดและวิธีการดูแลรักษา
1. ใช้ผ้าชุบน้ำผสมผงซักฟอก หรือน้ำยาล้างจานเจือจางบิดให้หมาดแล้วเช็ด แล้วใช้ผ้า
ชุบน้ำสะอาดเช็ด จากนั้นเช็ดให้แห้ง
2. ห้ามขัดด้วยวัสดุผิวหยาบจะทำให้เกิดรอยขีดข่วน
3. ระวังอย่าให้เปียกน้ำ เนื่องจากจะทำให้กาวละลายและลามิเนตบวม
4. ไม่ควรวางภาชนะที่มีความร้อนสูงลงบนพื้นผิวโดยตรงเพราะจะทำให้เป็นรอยไหม้



วิธีทำความสำอาดและวิธีการดูแลรักษา
1. ใช้ผ้าชุบน้ำผสมผงซักฟอก หรือน้ำยาล้างจานเจือจาง บิดให้หมาดแล้วเช็ด จากนั้น
ใช้ผ้าชุบน้ำสะอาดเช็ด แล้วเช็ดให้แห้ง
2. ใช้น้ำยาทำความสะอาดสเตนเลสสตีลโดยเฉพาะทำความสะอาด
5. หินสังเคราะห์
เป็นหินที่เกิดจากการผสมเนื้อหินกับสารเคมีเพื่อให้มีความแข็งแรงและสีสันที่หลายหลาย
กว่าหินในธรรมชาติ และมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามผู้ผลิต ทนความร้อน รอยขีดข่วน
กรด และด่าง ไม่ซึมน้ำเพราะผิวไม่มีรูพรุน ทำความสะอาดง่าย แต่มีราคาสูงมาก

แบ่งเป็นประเภทต่างๆตามกระบวนการผลิตดังนี้

1. Conglomerate stone คือ การนำเศษหิน กรวด หลายชนิด และขนาดแตกต่างกัน
โดยใช้คอนกรีต หรือโพลีเอสเตอร์เรซิ่นเป็นตัวประสานให้หินยึดติดกัน และเคลือบโดยมีการ
ผสมสารเคมีลงเพื่อเพิ่มความแข็งแรง ทนทาน ทนต่อการขีดข่วน ทนต่อสภาวะกรดและด่าง
ไม่ดูดซึมน้ำ และป้องกันรังสี UV ทำให้หินไม่เปลี่ยนสีเมื่อโดนแสงแดดเป็นเวลานาน
ใช้ในงานตกแต่ง

2. Compress stone คือ การนำหินอ่อน หินแกรนิต หรือ หินควอทซ์มาย่อยให้มีขนาดเล็ก
ในปริมาณประมาณมากกว่า 92 % แล้วผสมกับโพลีเอสเตอร์เรซินชนิดพิเศษ ซึ่งเรซินจะเป็น
ตัวประสารให้เม็ดหินเกาะกัน แล้วอัดเป็นแผ่น จากนั้นนำเข้าอัดระบบสุญญากาศ แล้วนำมา
ขัดแต่งให้เรียบร้อย ซึ่งจะมีคุณสมบัติรูปลักษณ์ใกล้เคียงกับหินธรรมชาติมาก แต่แข็งแรงกว่า
เป็นเงางาม ทนสารเคมี ไม่ดูดซับน้ำ และทนต่อแสงแดด หินที่ทำมาจากหินออ่อน
และแกรนิตเหมาะสำหรับใช้ภายใน ส่วนหินที่ทำมาจากหินควอทซ์เหมาะสำหรับใช้ภายนอก

วิธีทำความสำอาดและวิธีการดูแลรักษา1. ใช้ผ้าชุบน้ำผสมผงซักฟอก หรือน้ำยาล้างจานเจือจาง บิดให้หมาดแล้วเช็ด จากนั้น
ใช้ผ้าชุบน้ำสะอาดเช็ด แล้วเช็ดให้แห้ง
2. ใช้น้ำยาทำความสะอาดหินโดยเฉพาะ ทำความสะอาดตามคำแนะนำของผู้ผลิต
3. ไม่ควรใช้สารเคมีที่มีส่วนผสมของสารฟอกขาว หรือคลอรีนมาทำความสะอาด
4. ระวังรอยขีดข่วนจากของมีคม แต่ถ้าเกิดรอยแล้วสามารถแก้ไขได้ด้วยน้ำยาสำหรับ
หินสังเคราะห์โดยเฉพาะ
5. ขัดเงาด้วยน้ำยาขัดเงาทุก 6 เดือน


วันอังคารที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2555

พื้นปูนขัดมัน


พื้นปูนขัดมันมี 2 แบบ ได้แก่
1. พื้น คสล. (คอนกรีตเสริมเหล็ก) ผิวขัดมัน มีอีกชื่อหนึ่งว่า พื้นปูนแบบขัดสด ทำโดยใช้การผูกเหล็กเสริม (หรือที่เรียกว่า การวาง wire mesh) แล้วเทคอนกรีตโครงสร้าง
2. พื้นปูนทรายปรับระดับ ผิวขัดมัน แบบนี้จะใช้วิธีเทพื้นคอนกรีตแล้วขูดหน้าลายไว้ โดยที่จะ set ระดับพื้นคอนกรีตให้ต่ำกว่าความต้องการประมาณ 3-5 เซนติเมตร

ขั้นตอนการทำพื้นปูนขัดมัน
พื้น คสล. (คอนกรีตเสริมเหล็ก)
1. เทคอนกรีตโครงสร้าง จากนั้นทำการปรับระดับให้ได้ตามต้องการ
2. เมื่อคอนกรีตเริ่มแห้งหมาดๆ ให้โรยปูนซีเมนต์ผง หรือปูนซีเมนต์ผสม ลงบนผิวหน้า
3. ขัดให้เรียบด้วยเกรียงเหล็ก

พื้นปูนทรายปรับระดับ
1. ผสมปูนเทปรับระดับให้ได้ตามต้องการ ความสูงที่นิยมทั่วไปคือ 3 เซนติเมตร
2. เมื่อปูน-ทรายเริ่มแห้งหมาดๆ ให้โรยปูนซีเมนต์ผง หรือปูนซีเมนต์ผสม ลงบนผิวหน้า
3. ขัดให้เรียบด้วยเกรียงเหล็ก
ขั้นตอนข้างต้นส่วนมากจะใช้กันพื้นที่ที่ไม่ใหญ่มาก แต่ถ้าเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ โดยมากแล้วช่างจะใช้เครื่องขัดพื้นปููน หรือ “คอปเตอร์” ซึ่งหากใช้เครื่องขัดก็ไม่จำเป็นต้องโรยปูนซีเมนต์ผงก็ได้ วิธีนี้จะอาศัยปูนซีเมนต์ที่ลอยขึ้นมาที่ผิวหน้าระหว่างที่คอนกรีตหรือ ปูน-ทราย set ตัว

ขั้นตอนการทำไม่ยุ่งยากอย่างที่คิดนะครับ แต่สิ่งสำคัญคือ ช่างที่ทำงานเรียบร้อย และการดูแลหลังทำเสร็จมากกว่า

การดูแลรักษาปูนขัดมัน
1. การใช้ซิลิโคนทาเคลือบผิวหน้า เป็นน้ำยาที่ใช้เคลือบดูแลพื้นผิวปูน ลดการเกิดฝุ่นหรือเป็นขุย แต่ไม่ป้องกัน การแตกร้าว
2. การใช้ Epoxy ใสทาเคลือบ ซึ่งเทคโนโลยีด้านสีที่พัฒนาขึ้นมากในทุกวันนี้ Epoxy ใสจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง สำหรับการเคลือบผิวพื้นปูนเปลือย โดยมีให้เลือกทั้งแบบเงา กึ่งเงา และด้าน
3. การใช้ Wax เคลือบผิว ทำได้ง่ายๆ คือ ใช้ Wax น้ำ ทาหลายๆ ครั้ง พื้นปูนขัดมันจะเงาขึ้นได้ การลง Wax เป็นการช่วยเคลือบผิวอีกทีเหมือน Wax ขัดรถยนต์ หากต้องการให้เงางามอยู่ตลอด จะต้องลง Wax เป็นระยะแล้วแต่ความหนาของ Wax ที่ซึมลงไปเพื่อให้คงความเงาอยู่ตลอดเวลา

ปัญหาของปูนขัดมัน
1. เห็นรอยแตกร้าวค่อนข้างชัดเจน (บางคนคิดว่าเป็นธรรมชาติและดูคลาสสิคดี)
2. มีการแตกตามรอยจับระดับพื้น (จับเซี้ยม)
3. การใช้ Wax ขัด หรือ Epoxy ชนิดเงา จะทำให้ความไม่เรียบของพื้นผิวเห็นชัดขึ้น
4. หากเทไม่ดีอาจจะร่อนได้ในอนาคต
5. หากต้องแก้ไขทั้งหมดเนื่องจากการทุบเฉพาะส่วนที่เกิดปัญหาแล้ว สีของเนื้อการขัดมันใหม่จะไม่เข้ากับสีเนื้อเดิมและเห็นเป็นรอยสกัดได้

ขั้นตอนการทา Epoxy เคลือบผิว
เนื่องจากพื้นปูนขัดมันจะมีพื้นผิวที่มัน ฉะนั้นโดยทั่วไปจึงทา Epoxy ไม่ติด จึงต้องมีการทารองพื้นชนิดแทรกซึมผิวก่อนที่จะทา Epoxy ทับ โดยมีขั้นตอนดังนี้
1. เริ่มต้นด้วยการเตรียมพื้นที่ให้สะอาด ปราศจากฝุ่นและไขมันบนพื้นผิว
2. ต่อไปให้ผสมรองพื้นแทรกซึมผิว เป็น Epoxy ชนิด 2 ส่วน A:B ด้วยปริมาณ 2:1 หมายความว่า A 2 ส่วน ต่อ B 1 ส่วน พร้อมกับผสมทินเนอร์ที่ใช้กับรองพื้นแทรกซึมผิวไม่เกิน 25% จากนั้นคนส่วนผสมต่างๆ ให้เข้ากัน
3. ทาพื้นด้วยรองพื้นแทรกซึมผิว แล้วทิ้งไว้อย่างน้อย 12 ชั่วโมง
4. จากนั้นผสมสี Epoxy ใส A:B ด้วยอัตราส่วน 4:1 พร้อมกับทินเนอร์สำหรับผสม Epoxy ใสไม่เกิน 25% จากนั้นคนส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากัน
5. เมื่อผสมส่วนผสมต่างๆ เรียบร้อยแล้ว ก็เริ่มทา Epoxy ใส โดยเมื่อทาเสร็จจะต้องทิ้งไว้ไม่น้อยกว่า 3 วัน จึงจะใช้งานได้